นายวิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN เปิดเผยว่า ขณะนี้ Metro Mall หรือพื้นที่ร้านค้าภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการใน 8 สถานี ได้แก่ สถานีคลองเตย, สถานีสุขุมวิท, สถานีเพชรบุรี, สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีพหลโยธิน, สถานีจตุจักร และสถานีกำแพงเพชร ภาพรวมกลับมาคึกคักอีกครั้ง ร้านค้าต่างๆ กลับมาเปิดบริการปกติ ขณะที่ผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ก็กลับมาเพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อปี 62 จากประมาณกว่า 3 แสนคนต่อวัน เป็นประมาณกว่า 4 แสนคนต่อวัน ซึ่งบริษัทฯ จะร่วมกับพันธมิตร (Partner) จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างสีสัน สร้างความสุขให้กับผู้ใช้บริการ รวมทั้งกระตุ้นยอดขายให้กับร้านค้า และเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายวิทสุวัฒน์ กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ยังคงมีแผนเปิด Metro Mall ในพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า MRT ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเดือน ม.ค. 67 เตรียมเปิดให้บริการที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พื้นที่ประมาณ 927 ตารางเมตร (ตร.ม.) วงเงินลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรเป็นทั้งพื้นที่จำหน่ายอาหาร และพื้นที่ส่วนกลาง สำหรับจัดกิจกรรม และเป็นจุดนัดพบ จุดพักคอย ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายหลักคือ พนักงานออฟฟิศบริเวณโดยรอบศูนย์ประชุมฯ จากการทำวิจัยสำรวจพบว่า บริเวณดังกล่าว ไม่ค่อยมีร้านอาหาร มีทางเลือกน้อย และพบว่ามีความต้องการร้านอาหารมากที่สุด ดังนั้น ร้านค้าที่จะเปิดภายใน Metro Mall ที่ศูนย์ประชุมฯ ประมาณ 95% จะเป็นร้านอาหารที่มีราคาสมเหตุสมผลคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายวิทสุวัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะรองรับนักท่องเที่ยว และผู้เข้าร่วมงานต่างๆ ที่จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ด้วย ซึ่งปัจจุบันสถานีศูนย์ประชุมฯ มีผู้ใช้บริการประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการ Metro Mall และจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีปริมาณผู้ใช้บริการสถานีฯ เพิ่มมากขึ้น และดึงดูดให้มาใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นด้วย เหมือนกับสถานีพหลโยธิน ที่ปัจจุบันนอกจากเปิด Metro Mall แล้ว ยังจัดกิจกรรม Metro Artงานแสดงนิทรรศการ และกิจกรรมต่างๆ ด้านศิลปะ ทำให้ปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการสถานีพหลโยธินเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
นายวิทสุวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างเร่งศึกษารูปแบบ เตรียมเปิด Metro Mall ที่สถานีลาดพร้าว, สถานีวัดมังกร และสถานีสามยอด คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 68 โดยแต่ละพื้นที่จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยเน้นให้สอดคล้อง และเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าด้วย อย่างไรก็ตามในปี 67 บริษัทฯ ยังมีแผนปรับปรุง Metro Mall ที่เปิดให้บริการแล้ว อาทิ สถานีพระราม 9, สถานีกำแพงเพชร และสถานีคลองเตย โดยจะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ รีเฟรชพื้นที่ ให้มีบรรยากาศที่ดี มีสีสัน และทันสมัยมากขึ้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท
นายวิทสุวัฒน์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะเริ่มปรับปรุงที่สถานีคลองเตยก่อน โดยจะร่วมมือกับพันธมิตรเปลี่ยนคอนเซปต์จากร้านค้า ร้านอาหาร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ สามารถนำไปต่อยอดอาชีพได้ รวมทั้งจะมีพื้นที่ให้ทำกิจกรรม อาทิ สถานที่ไลฟ์ขายของ พื้นที่อ่านหนังสือ เป็นต้น เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่อาจไม่มีทุน หรือไม่มีสถานที่มาใช้พื้นที่ส่วนนี้ได้ ซึ่งบริษัทฯ ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) มีร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ราคาถูกด้วย ทั้งนี้จะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดจำนวนมากในพื้นที่นี้ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งมั่วสุม และให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าหากเด็ก และเยาวชนมาใช้พื้นที่ที่นี้ จะได้รับความปลอดภัย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการไม่เกินไตรมาสที่ 2 ปี 67 (เม.ย.-มิ.ย. 67)
นายวิทสุวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในปี 66 คาดว่าบริษัทฯ จะมีรายได้เติบโตมากกว่าปี 65 ซึ่งตามปกติจะเติบโตประมาณปีละ 20-30% โดยรายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์เมื่อปี 64 อยู่ที่ประมาณ 822 ล้านบาท ปี 65 อยู่ที่ประมาณ 920 ล้านบาท และในปี 66 (ม.ค.-ส.ค. 66) รายได้อยู่ที่ประมาณ 709 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาลดอัตราค่าเช่าให้กับร้านค้าบางร้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อยู่ ทั้งนี้ Metro Mall ที่มีพื้นที่มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สถานีจตุจักร, สถานีพหลโยธิน, สถานีพระราม 9, สถานีเพชรบุรี และสถานีสุขุมวิท ตามลำดับ.